PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอาทิตย์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2554

66> เปิดคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร!!!!!

@ ถ้ากลัวเด็กติดgame ก็ไปถามคนป่าแอฟริกัน หรือว่า พวกเด็กๆใน อูกันดา รวันดา นะครับ
@ 026 โตไปไม่โกง???
@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ "พนัส ทัศนียานนท์" อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.โต้15คำถามของอธิการนาซี และ แถลงการณ์กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน
@ ดูกันชัดๆๆๆๆๆ คำพิพากษาศาลฯยกฟ้อง ยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน19ก.ย.2549 แล้วผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
@ 01 คุณปูครับ...ปรับเปลี่ยนงาน ปชส.ของรัฐบาลและ ศปภ.ได้แล้ว





TheDailyDose ประจำวันที่ 4 ตุลาคม 2554


เปิดคำวินิจฉัยผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย ปฏิเสธอำนาจคณะรัฐประหาร!!!!!

"หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป"...

28 กันยายน 2552 องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีมติเสียงข้างมากพิพากษาตัดสิทธิทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของนายยงยุทธ ติยะไพรัช อดีต รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นเวลา5 ปี กรณีปกปิดข้อเท็จจริงในการยื่นบัญชีแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน รวมทั้งยังพิพากษาให้มีโทษทางอาญา ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยมีคำสั่งให้จำคุก 2 เดือน ปรับ 4 พันบาท แต่โทษจำคุกให้รอไว้ก่อน 1 ปี

คดีดังกล่าว มี ป.ป.ช.เป็นผู้ร้อง โดยยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่า นายยงยุทธ อาจเข้าข่ายจงใจปกปิดการยื่นรายการแสดงบัญชีทรัพย์สินหนี้สิน เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี 2548

ข่าวเลือนหายไปจากความสนใจอย่างเงียบเชียบในเวลาไม่นาน แม้แต่ตัวของนายยงยุทธเองก็น้อมรับคำวินิจฉัยอย่างไม่ยี่หระพร้อมกล่าวว่า "คมช.เข้ามา ผมก็ถูกดำเนินคดีโหลนึง วันนี้เป็นคดีที่ 4 ยังมีคดีที่เหลือต้องขึ้นศาลอีก รอดครั้งนี้ ก็ไม่รู้ว่าครั้งหน้าจะรอดหรือไม่"

ทว่ามติของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองครั้งนี้ จะกลายเป็นครั้งแรกของประวัติศาสตร์กระบวนการกฎหมายไทยที่ผู้พิพากษารายหนึ่งมีคำวินิจฉัยปฏิเสธอำนาจของคณะรัฐประหารอย่างชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมอ้างอิงหลักกฎหมายในการวินิจฉัยความไม่ชอบธรรมของคณะรัฐประหารผ่านคำวินิจฉัยส่วนตนซึ่งใช้ประกอบการลงมติตัดสินคดีดังกล่าว และนี่คือคำวินิจฉัยของผู้พิพากษาเสียงส่วนน้อย

"ส่วนหนึ่งจากคำวินิจฉัยส่วนตนของนายกีรติ กาญจนรินทร์ ในคดีหมายเลขแดงที่ อม. ๙/๒๕๕๒"

...ปัญหาต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้หรือไม่ เห็นว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นของประชาชน ศาลจึงต้องใช้ อำนาจดังกล่าวเพื่อประชาชนอย่างสร้างสรรในการวินิจฉัยคดีเพื่อให้เกิดผลในทางที่ขยายขอบเขตการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และหากศาลไม่รับใช้ประชาชน ย่อมทำให้ระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมถูกท้าทายและสั่นคลอน

นอกจากนี้ศาลควรมีบทบาทในการพิทักษ์ความชอบด้วยกฎหมายรวมถึงพันธกรณีในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจากการใช้อำนาจโดยมิชอบและพันธกรณีในการปกปักรักษาประชาธิปไตยด้วย

การได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยความไม่ยินยอมพร้อมใจจากประชาชนส่วนใหญ่ เท่ากับเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย การปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 ย่อมเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย

หากศาลรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เท่ากับศาลไม่ได้รับใช้ประชาชน จากการใช้อำนาจโดยมิชอบและเพิกเฉยต่อการปกปักรักษาประชาธิปไตยดังกล่าวมาข้างต้น ทั้งเป็นการละเลยหลักยุติธรรมตามธรรมชาติที่ว่าบุคคลใดจะรับประโยชน์จากความฉ้อฉลหรือความผิดของตนเองหาได้ไม่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้เกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์อยู่ร่ำไป ยิ่งกว่านั้นยังเป็นช่องทางให้บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวยืมมือกฎหมายเข้ามาจัดการสิ่งต่างๆ

ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ปัจจุบันอยู่ในกระแสโลกาภิวัตน์ นานาอารยะประเทศส่วนใหญ่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งไม่ยอมรับอำนาจที่ได้มาจากการปฏิวัติหรือรัฐประหาร ฉะนั้นเมื่อกาละและเทศะในปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้วจากอดีต ศาลจึงไม่อาจที่จะรับรองอำนาจของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหารว่าเป็นรัฎฐาธิปัตย์

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น เมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปเช่นกันว่า ผู้ร้องประกอบด้วยคณะกรรมการที่เป็นผลพวงของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) แต่ คปค. เป็นคณะบุคคลที่ทำการปฏิวัติหรือรัฐประหาร เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 จึงเป็นการได้อำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตยดังเหตุผลข้างต้น ย่อมไม่อาจถือได้ว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แม้จะได้รับการนิรโทษกรรมภายหลังก็ตาม หาก่อให้เกิดอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำการใดอย่างรัฏฐาธิปัตย์

ผู้ร้องประกอบด้วยคณะบุคคลที่เป็นผลพวงของ คปค. ย่อมไม่มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ด้วยเช่นกัน ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) คดีนี้ อำนาจฟ้อง (ยื่นคำร้อง) เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ปัญหาว่าผู้คัดค้านจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบหรือไม่ จึงไม่จำต้องวินิจฉัย

วินิจฉัยให้ยกคำร้องของผู้ร้อง

นายกีรติ กาญจนรินทร์




หมายเหตุ คำวินิจฉัยมีทั้งหมด 10 หน้า ประชาไทลงเฉพาะคำวินิจฉัยหน้า 8-10 จากเนื้อหาทั้งหมด 10 หน้า เนื่องจากก่อนหน้านั้นเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงในคำร้องของป.ป.ช.

Wed, 2009-11-04 22:39
http://www.prachatai.com/journal/2009/11/26459