PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

82 ต้องรู้..ต้องรู้...ภาระหน้าที่"เมษายน"ทุกๆปี นะจ๊ะ!!

@ 4 ข้อเสนอนิติราษฎร์ "ลบล้างผลพวงรัฐประหาร 19 กันยา"
@ 81 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร...‘ดรัมเมเยอร์-ไทยแลนด์แบนด์’
@ เมื่อผมไปอเมริกาครั้งแรกเมื่อเดือน มกราคมปี 1972.....ผมมีเงินติดตัวไป $80.00
@ 82 ชีวิตหมอที่ไม่ได้ไปอเมริกา By: kimeng suk
@ 54... "นายกฯปู" สวมชุดนักบินเหินฟ้าชมการใช้กำลังทางอากาศ
@ สถานีรถไฟจีน แล้วลองย้อนมาดูเรา...
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน บรูไน, อินโดนีเซีย, กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์ ชุดที่1
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน เวียดนาม ชุดที่2
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน สิงคโปร์ ชุดที่3
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน อินเดีย ชุดที่4
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน ฟิลิปปินส์ ชุดที่5
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์ร่วมประชุมที่สวิสเซอร์แลนด์ ชุดที่6
@ ภาพชุดนายกฯยิ่งลักษณ์เยี่ยมเยือน มาเลเซีย ชุดที่7

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ โหลดเก็บไว้ในcomเชิญคลิกที่นี่...


Home: http://www.mod.go.th/misc/officer1.htm

ย่างเข้าเดือนเมษายน บรรดาชายไทยอายุได้เกณฑ์ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องทำหน้าที่ชายไทยในการปกปักษ์รักษาแผ่นดิน การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการประจำปี 2555 โดยในปีนี้มีจำนวนทหารกองเกินที่เกิด พ.ศ. 2534 และผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2526-2533 ที่ยังไม่เคยเข้ารับการตรวจเลือกทั้งหมด 347,000 คน ขณะที่กองทัพมีความต้องการทหารเข้ากองประจำการจำนวน 103,555 คน

แบ่งเป็นกองทัพบก 78,446 นาย กองทัพเรือ 16,000 นาย กองทัพอากาศ 7,525 นาย กองทัพไทย 898 นาย และสำนักปลัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 686 นาย โดยยอดความต้องการทหารกองประจำการในปีนี้มากกว่าปีที่แล้วประมาณ 1 หมื่นกว่านาย ซึ่งกองทัพภาคที่ 1 ต้องการทหารมากที่สุดจำนวน 37,626 คน ทั้งนี้ กองทัพบกจะทำการตรวจเลือกทหารกองเกินระหว่างวันที่ 1-12 เมษายน 2555 นี้



(พ.ร.บ. รับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ และกฎกระทรวงออกตามความใน พ.ร.บ.ฯ พ.ศ.๒๔๙๘) ประชาชนชาวไทยโดยเฉพาะชายที่มีสัญชาติไทย ต้องเข้ารับราชการทหารด้วยกันทุกคน แต่มีจำนวนมากยังไม่เข้าใจ เกี่ยวกับหน้าที่การรับราชการทหารในขั้นตอนต่างๆ เช่น การขึ้นทะเบียนทหาร การรับหมายเกณฑ์ การเกณฑ์ทหาร รวมไปถึงการขอยกเว้น และการขอผ่อนผันในการเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนไม่เข้าใจวิธีปฏิบัติตามหน้าที่ที่ถูกต้อง หรือได้รับคำชี้นำในการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย จนกระทั่งต้องถูกดำเนินคดีเป็นจำนวนมาก ในข้อหาหลีกเลี่ยงขัดขื่นไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) ไม่ไปรับหมายเรียก (หมายเกณฑ์), หรือไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) และอื่นๆ เป็นเหตุให้ต้องเสียทั้งเวลาและทรัพย์สินในการต่อสู้คดี

ดังนั้นเพื่อให้ชาวไทย ซึ่งเป็นทั้งนักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไปได้ทราบถึงหน้าที่และการปฏิบัติ เกี่ยวกับการรับราชการทหารได้ถูกต้องกองการสัสดี กรมเสมียนตรา จึงได้ทำคู่มือฉบับนี้ขึ้น เพื่อชี้แจงเน้นย้ำ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรับราชการทหาร เพื่อจะปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดไว้ได้อย่างถูกต้อง และมีจิตสำนึกที่ดี พร้อมที่จะอุทิศแรงกายแรงใจ เสียสละความสุขส่วนตัว เพื่อรับใช้ประเทศชาติด้วยความเต็มใจสมกับเป็นชายชาติทหารอย่างแท้จริง

หวังว่าคู่มือสำหรับประชาชนเรื่องความรู้เกี่ยวกับ การรับราชการทหารฉบับนี้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านตามสมควร


ประเทศตั้งแต่มีรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ปกครองประเทศเป็นต้นมา กำหนดให้ชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหารและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรพุทธศักราช ๒๕๕๐ ฉบับที่ใช้ในปัจจุบันยังกำหนดไว้ในหมวด ๔ หน้าที่ของชนชายไทย มาตรา ๗๓ ซึ่งมีความว่า "บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร ช่วยเหลือในการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติสาธารณะ ...ฯลฯ.. ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ" กฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ คือ พระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ มาตรา ๗ บัญญัติว่า "ชายที่มีสัญชาติ เป็นไทย "และการได้มีสัญญาติไทยเป็นไปตามพระราชบัญญัติสัญชาติไทยตามกฎหมายมีหน้าที่รับราชการทหารด้วยตนเองทุกคน พ.ศ.๒๕๐๘

ดังนั้นหน้าที่ของชายไทยทุกคนต้องรับราชการทหาร พูดง่ายๆว่า "ต้องไปเกณฑ์ทหาร" ซึ่งการรับใช้ชาติด้วยการเป็นทหารเป็นเรื่องที่มีเกียรติมีศักดิ์ศรี เพราะกองทัพไทยจะฝึกฝนผู้เข้ารับราชการหารให้มีระเบียบ วินัย ฝึกหัดวิชาชีพเพิ่มพูนความรู้ในด้านต่างๆ อันเป็นประโยชน์และมีคุณค่าอย่างมากแก่ทหารเกณฑ์ทุกคน ซึ่งปกติการเกณฑ์ทหารจะกระทำกันในช่วงเดือน เมษายน ของทุกปี ปีละครั้ง และต้องเข้ารับราชการเป็นทหารเกณฑ์จำนวน ๒ ปี แต่มีข้อยกเว้นและผ่อนผันสำหรับผู้ที่เรียนวิชารักษาดินแดน (รด.) หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติรับราชการทหารและกฎกระทรวง ซึ่งจะกล่าวต่อไป

๑. หน้าที่ของชายไทยที่จะต้องเกี่ยวกับการรับราชการทหารมีดังนี้

๑.๑ การลงบัญชีทหารกองเกิน (การขึ้นทะเบียนทหาร) ชายไทยเมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ให้ไปแสดงตนเพื่อขึ้นทะเบียนทหารภายในปี พ.ศ.นั้น

๑.๒ การรับหมายเรียก (การรับหมายเกณฑ์) ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี (๒๐ ปี บริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใดต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น

๑.๓ การเข้ารับการตรวจเลือก (การเข้าเกณฑ์ทหาร) ทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเกณฑ์ทหารตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียก

๑.๔ การเข้ารับการเรียกพลของทหารกองหนุน ทหารที่ปลดจากกองประจำการโดยรับราชการในกองประจำการจนครบตามที่กฎหมายกำหนด หรือทหารกองเกินซึ่งสำเร็จการฝึกวิชาทหารตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร และได้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุน เมื่อมีหมายเรียกพล (เพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม) จะต้องไปรายงานตัวเพื่อเข้ารับการฝึก หรือทบทวนวิชาทหาร ให้มีความรู้ความสามารถพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

๒. บุคคลที่จะได้สัญชาติไทย จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

๒.๑ เกิดโดยบิดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักรไทย

๒.๒ เกิดนอกราชอาณาจักรไทย โดยมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทย แต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายหรือบิดาไม่มีสัญชาติ

๒.๓ เกิดในราชอาณาจักรไทย (นอกจากผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ที่มีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว และขณะที่เกิดบิดามารดาเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต หรือเจ้าหน้าที่ในคณะผู้แทนทางการทูต หรือพนักงานหรือผู้เชี่ยวชาญขององค์การระหว่างประเทศ และคนในครอบครัว ซึ่งเป็นญาติอยู่ในอุปการะหรือคนใช้ ซึ่งเดินทางมาอยู่กับบุคคลดังกล่าว)

๒.๔ ผู้ที่ได้แปลงสัญชาติเป็นไทยตามกฎหมาย

๒.๕ บุคคลที่ได้กลับคืนสัญชาติไทย ชายที่มีสัญชาติไทย เริ่มผูกพันกับกฎหมายรับราชการทหาร ตั้งแต่อายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือ อายุย่างเข้า ๑๘ ปี ในวาระแรกที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารที่อำเภอตามที่กฎหมายกำหนด

๓. การนับอายุ คนเกิดในวันใดเดือนใดก็ตามปีเดียวกัน เมื่อสิ้นปีนั้น อายุจะเท่ากันหมด คือ ๑ ปีบริบูรณ์และนับเป็นอายุย่าง ๒ ปีด้วย เช่น คนเกิดวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๐ กับคนเกิดวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๐ เมื่อสิ้นปี ๒๕๔๐ และในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๑ ให้นับอายุครบ ๑ ปีบริบูรณ์ และจะมีอายุย่าง ๒ ปี เท่ากัน เรื่อยไปจนถึงวันที่ ๓๑ ธ.ค.๒๕๔๑ และเมื่อสิ้นปี ๒๕๔๑ แล้ว ในวันที่ ๑ ม.ค.๒๕๔๒ ให้นับอายุครบ ๒ ปีบริบูรณ์และจะมีอายุย่าง ๓ ปี ด้วยให้นับเช่นนี้ไปเรื่อยๆตามที่ต้องการ การจะทราบว่าอายุปัจจุบันเท่าใดให้เอา พ.ศ.ปัจจุบันตั้งลบด้วย พ.ศ.เกิด เช่น คนเกิด พ.ศ.๒๕๒๔ จะมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ หรือย่างเข้า ๑๘ ปี ตลอดปี ๒๕๔๑ คือ อายุครบและอายุย่าง ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.๔๑ - วันที่ ๓๑ ธ.ค.๔๑


ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๘ ปี (๑๗ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ.ใด ให้ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (ไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน) ณ อำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น (ตั้งแต่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค.) เช่น เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ต้องไปขึ้นทะเบียนทหารใน พ.ศ.๒๕๔๑ ผู้ใดไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนทหารกองเกินด้วยตนเองได้ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน (ปกติควรให้ผู้ปกครอง) ถ้าไม่ไปแจ้งแทนในปีนั้นถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนทางอำเภอแจ้งความดำเนินคดีมีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ส่งให้พนักงานสอบสวน คือ ตำรวจ เปรียบเทียบปรับไม่ได้ ต้องดำเนินคดีถึงชั้นศาล) เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว ให้ถือว่าเป็นทหารกองเกินตั้งแต่ วันที่ ๑ ม.ค. ของปีถัดไป

๑. การลงบัญชีทหารให้ปฏิบัติ ดังนี้

กรณีบิดาและมารดาสมรสกันตามกฎหมาย ให้ถือภูมิลำเนาของบิดาเป็นหลักในการลงบัญชีทหารถ้าบิดาถึงแก่กรรมแล้ว มารดายังมีชีวิตอยู่หรือถ้าทั้งบิดาและมารดาถึงแก่กรรมแล้ว มีผู้ปกครองให้ถือลำเนาในการลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดาหรือผู้ปกครองมีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี หรือถ้าบุคคลดังกล่าวถึงแก่กรรมหมดให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่ผู้ขอลงบัญชีทหารมีภูมิลำเนาอยู่ (ภูมิลำเนาคือการที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนบ้าน)

การขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ผู้ขอยื่นใบแสดงตน เพื่อขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน ต้องนำหลักฐานคือสูติบัตรหรือบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (ที่มีชื่อบิดา หรือมารดา) ต่อนายอำเภอท้องที่ เมื่อนายอำเภอท้องที่ได้ตรวจสอบหลักฐาน เอกสารเห็นว่าถูกต้องแล้วจะรับลงบัญชีทหารและออกใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.๙) ให้เป็นหลักฐาน

ตัวอย่าง เช่น นาย ก. เกิด พ.ศ.๒๕๒๔ ให้ถือว่าอายุครบ ๑๗ ปี บริบูรณ์ และอายุย่าง ๑๘ ปี ใน พ.ศ.๒๕๔๑ เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย นาย ข. และ นาง ค. (นาย ข. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ นาง ค. มีภูมิลำเนาอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี, นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร)

กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำทะเบียนของตนพร้อมด้วยบัตรประจำตัวประชาชนไปแสดงขอลงบัญชีทหารที่อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดากับต้องนำทะเบียนบ้านของบิดาและมารดาไปแสดงด้วย เมื่อลงบัญชีทหารแล้วถือว่า นาย ก. มีภูมิลำเนาทหารอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ถ้านาย ข. เสียชีวิต นาย ก. จะต้องนำทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนของตนกับมรณบัตรของนาย ข. และทะเบียนของ นาง ค. ไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ถ้า นาย ข. และ นาง ค. หย่าขาดจากกัน นาย ก. อยู่กับมารดาที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี หรืออยู่กับน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ก็ตาม กรณีนี้ นาย ก. จะต้องไปลงบัญชี ณ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของบิดา

ถ้าไม่สะดวกที่จะไปลงบัญชีทหารด้วยตนเอง จะให้บิดาแจ้งการลงบัญชีทหารแทนก็ได้ต้องใกล้กระชั้นวันหมดเขตการลงบัญชีทหาร โดยส่งสำเนาทะเบียนบ้านของตน และของมารดา อีกทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของตน พร้อมกับแจ้งตำหนิ แผลเป็นเหนือเอวขึ้นไปที่เห็นได้ง่ายและชัดเจน ซึ่งต่อไปจะไม่สูญหาย เช่น "แผลเป็นที่แก้มขวา" เพื่อให้บิดาดำเนินการแจ้งลงบัญชีทหารแทน เสร็จแล้วบิดาจะส่งเอกสารดังกล่าวพร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้แก่ นาย ก. ไว้เป็นหลักฐาน

ต่อมาถ้า นาย ก. ประสงค์จะตรวจเลือกทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ก็กระทำได้ โดยแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารมาอยู่ที่เขตดุสิต การแจ้งไม่ต้องไปแจ้งที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่อย่างใด คงแจ้งที่เขตดุสิตแห่งเดียว กล่าวคือ เพียงแต่นำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ไปขอแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารที่เขตดุสิต (สัสดีเขตดุสิตเป็นผู้ดำเนินการให้)

ถ้า นาย ข.และ นาง ค. เสียชีวิตทั้งสองคนและมีน้าเป็นผู้ปกครอง กรณีนี้ นาย ก. จะต้องนำหลักฐานดังกล่าวแล้วข้างต้น ไปลงบัญชีทหารที่เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของน้า

ถ้า นาย ก. เกิดนอกสมรสและบิดามิได้จดทะเบียนรองรับบุตรหรือถ้ามารดาเสียชีวิตแล้วมีผู้ปกครอง ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่มารดา หรือผู้ปกครอง มีภูมิลำเนาแล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว (บิดา มารดา ผู้ปกครอง) ให้ลงบัญชีทหารที่อำเภอท้องที่ที่นาย ก. มีภูมิลำเนาอยู่

เนื่องจากทางราชการได้ให้ระยะเวลาในการลงบัญชีทหารไว้ตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม ในปีที่มีอายุย่าง ๑๘ ปี และในเดือนกันยายน ของทุกปี ทางอำเภอจะประกาศเตือนให้ผู้ที่ยังมิได้ ลงบัญชีทหารให้ไปลงบัญชีทหารให้เสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดด้วย ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านและที่เปิดเผยตามชุมชน ในท้องที่นั้นกับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย

ถ้าผู้ใดไม่ไปลงบัญชีทหารกองเกินภายในกำหนด จะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือนหรือปรับไม่เกินสามร้อยบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ

๒. การลงบัญชีทหารกองเกินแทน ผู้ใดมีความจำเป็นไม่สามารถไปลงบัญชีทหารด้วยตนเองได้ต้อง ให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งแทน โดยปกติจะเป็นบิดา มารดา หรือพี่ ซึ่งจะต้องเป็นกรณีที่กระชั้นวันหมดเขตระยะเวลาลงบัญชี (ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็นดังนี้

๒.๑ ป่วย

๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับ หรือ มีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับเลยกำหนดเวลาการลงบัญชีทหารกองเกินแล้ว

๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่

บุคคลซึ่งยังมิได้ลงบัญชีทหารกองเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ถ้าอายุยังไม่ถึง ๔๖ ปีบริบูรณ์ก็ต้องไปลงบัญชีทหารทุกคนตามกฎหมาย จะให้ผู้อื่นแจ้งแทนไม่ได้ ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารด้วยตนเองเพราะมีความผิดปกติขึ้นแล้ว เมื่อได้ลงบัญชีทหารกองเกินแล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) ให้ไว้เป็นหลักฐานต่อไป

เมื่อมีประสงค์จะย้ายภูมิลำเนาทหาร ก็ย่อมทำได้ โดยแจ้งต่อนายอำเภอ (สัสดีอำเภอ) ท้องที่ที่ตนเองเข้ามาอยู่นั้น (โดยไม่ต้องแจ้งย้ายที่อำเภอเดิม) การแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารให้กระทำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ย้ายทะเบียนเข้ามาอยู่ในท้องที่ใหม่โดยนำใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) กับทะเบียนบ้านไปประกอบหลักฐานการแจ้งย้ายภูมิลำเนาทหารด้วย

อนึ่ง ถ้าได้รับในอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุล ให้นำหลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล พร้อมกับใบสำคัญ (แบบ สด.๙) หรือ หนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘) ไปแจ้งต่อนายอำเภอท้องที่ที่เป็นภูมิลำเนาทหาร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับอนุญาตเพื่อแก้หลักฐานให้ถูกต้อง เมื่อได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ถือว่าผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ในอำเภอที่ได้ขึ้นทะเบียนทหารกองเกิน

อธิบายศัพท์

- ภูมิลำเนาทหาร หมายความว่า อำเภอท้องที่ที่บุคคลนั้นได้แจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินไว้ที่อำเภอแล้ว และบุคคลจะมีภูมิลำเนาทหารได้ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น

- ทหารกองเกิน หมายความว่า ผู้ซึ่งมีอายุตั้งแต่สิบแปดปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์และยังไม่ถึงสามสิบปีบริบูรณ์ ซึ่งได้ลงบัญชีทหารกองเกิน (ขึ้นทะเบียนทหาร) แล้ว


ทหารกองเกินทุกคนเมื่อมีอายุย่างเข้า ๒๑ (อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์) ใน พ.ศ. ใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตน ภายใน พ.ศ.นั้น เช่น ทหารกองเกินเกิด พ.ศ.๒๕๒๑ ให้ไปแสดงตนรับหมายเกณฑ์ได้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๑ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๑ ในเวลาราชการ เมื่อรับหมายเกณฑ์แล้ว จะต้องไปรับการตรวจเลือก (เกณฑ์) ในเดือนเมษายน ๒๕๔๒ ตามวัน เวลาและสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเกณฑ์ หากไม่ไปจะถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี

๑. การออกหมายเกณฑ์ หมายเกณฑ์นายอำเภอจะออกเฉพาะผู้ที่ได้ลงบัญชีเป็นทหารกองเกินแล้ว คือ

๑.๑ ผู้ที่มีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ในปีที่จะเข้ากองประจำการ

๑.๒ ผู้ที่มีอายุ ๒๒-๒๙ ปีบริบูรณ์ ซึ่งต้องไม่เคยเข้าตรวจเลือก (เกณฑ์ทหาร) หรือเป็นคนหลีกเลี่ยง ไม่มารับการเกณฑ์ในปีก่อนๆ (ศาลตัดสินลงโทษแล้ว) หรือพ้นจากฐานะการยกเว้น หรือผ่อนผัน หรือได้รับการผ่อนผันเนื่องจากเป็นนิสิต นักศึกษา นักเรียน หรือผู้ที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดา หรือบุตร หรือคณะกรรมการตรวจเลือกมีความเห็นว่าป่วยรักษาไม่หายภายใน ๓๐ วัน ในปีที่ผ่านมา

๒. การรับหมายเกณฑ์แทน ผู้ใดไม่สามารถจะไปรับหมายเรียกตนเองได้ ต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปรับหมายเกณฑ์แทน ถ้าไม่มีให้ถือว่า ผู้นั้นหลีกเลี่ยงขัดขืน การรับแทนจะต้องเป็นกรณีใกล้วันหมดเขตรับหมายเกณฑ์(ประมาณเดือนธันวาคม) โดยมีความจำเป็น ดังนี้

๒.๑ ป่วย

๒.๒ ไปอยู่ต่างประเทศยังไม่มีกำหนดกลับ หรือมีกำหนดกลับแต่วันที่จะกลับนั้นเลยกำหนดเวลาการรับหมายเกณฑ์แล้ว

๒.๓ ไปศึกษาต่างท้องที่ ไม่สามารถจะกลับไปได้เพราะติดการสอบไล่

การที่จะให้รับหมายเกณฑ์แทนหรือไม่นั้นอยู่ในดุลพินิจของนายอำเภอการรับหมายเกณฑ์แทน จะต้องมีหนังสือมอบหมายหรือมอบฉันทะของทหารกองเกินผู้นั้นถึงนายอำเภอโดยผู้รับแทนนำมาแสดง แล้วให้สัสดีอำเภอลงทะเบียนรับหนังสือ และให้ทางอำเภอทำการสอบสวนปากคำผู้รับแทนนั้นไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งผู้รับแทนจะต้องให้คำรับรองในการสอบสวนว่า จะมอบหมายเกณฑ์ที่รับไปนั้นนำไปมอบให้แก่ทหารกองเกินผู้นั้น พร้อมกับแจ้งวันเวลาและสถานที่เกณฑ์ทหารให้ทราบ แล้วเสนอนายอำเภอ ขออนุมัติก่อนมอบหมายเกณฑ์ให้รับไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ ทหารกองเกินผู้นั้นอ้างว่าไม่ได้รับหมายเกณฑ์ในกรณีที่หลีกเลี่ยงขัดขืน ไม่ไปเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

๓. การจัดทำประกาศ ในเดือนตุลาคมทุกปี ทางอำเภอจะจัดทำประกาศให้ทหารกองเกินที่มีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ใน พ.ศ. นั้นไปแสดงตนเพื่อรับหมายเกณฑ์ที่ อำเภอ ประกาศเช่นว่านี้จะปิดไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการกำนัน ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และที่เปิดเผยตามชุมชนในท้องที่นั้น กับนายอำเภอจะส่งประกาศให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเพื่อนำไปแจ้งให้ราษฎรในท้องที่ของตนทราบด้วย

ถ้าผู้ใดไม่ไปรับหมายเกณฑ์ตามกำหนดจะถูกดำเนินคดีอาญาฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับแต่ถ้าทางอำเภอได้ส่งรายชื่อไปให้เจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


"บุคคลซึ่งจะเข้ารับราชการทหารกองประจำการนั้นต้องมีขนาดรอบตัวตั้งแต่เจ็ดสิบหกเซนติเมตรขึ้นไปในเวลาหายใจออกและสูงตั้งแต่หนึ่งเมตรสี่สิบเซนติเมตรขึ้นไป ถ้าขนาดสูงหรือขนาดรอบตัวอย่างใดอย่างหนึ่งต่ำกว่ากำหนดนี้ ให้ถือว่าเป็นคนไม่ได้ขนาดจะส่งเข้ากองประจำการไม่ได้"

การตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการหรือที่รู้จักกันดีคือการเกณฑ์ทหารนั้นตามปกติกระทรวงกลาโหม ได้กำหนดไว้ในเดือนเมษายน (วันที่ ๑เมษายน ถึงวันที่ ๑๑ เมษายน ของทุกปี) ดังนั้นทหารกองเกินเมื่อได้รับหมายเรียกแล้วจะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดในหมายเรียก ทั้งนี้ โดยนำหลักฐานต่างๆ ได้แก่ ใบสำคัญทหารกองเกิน (แบบ สด.๙), หมายเรียก (แบบ สด.๓๕.), บัตรประจำตัวประชาชน, ประกาศนียบัตร หรือหลักฐานทางการศึกษา ไปแสดงด้วย

หากทหารกองเกินผู้ใดไม่ไปถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืนมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี และในวันตรวจเลือกนั้น ผู้เข้ารับการตรวจเลือกทุกคน จะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.๔๓) หรือที่รู้จักกันคือ ใบผ่านการเกณฑ์ทหารนั่นเอง

ก่อนที่จะทราบถึงวิธีการในตรวจเลือก ควรจะได้ทำความเข้าใจว่าในวันตรวจมีใครบ้างเป็นเจ้าหน้าที่ทำการตรวจเลือก และมีหน้าที่อย่างไรบ้างเสียก่อน สำหรับในวันตรวจเลือกนั้นจะมีคณะกรรมการตรวจเลือก ซึ่งมีหน้าที่ทำการตรวจเลือกให้เป็นไปอย่างยุติธรรม

๑. คณะกรรมการตรวจเลือกประกอบด้วย

๑.๑ นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมียศไม่ต่ำกว่าพันโทหนึ่งคนเป็นประธานกรรมการมีหน้าที่อำนวยการและควบคุมการตรวจเลือกให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และออกเสียงชี้ขาดในกรณีที่เป็นปัญหาในทางปฏิบัติเมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกไม่อาจตกลงกันโดยเสียงข้างมากได้ กับมีหน้าที่ตรวจสอบการปล่อยตัวทหารกองเกินพร้อมมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบสด.๔๓)

๑.๒ นายทหารสัญญาบัตรซึ่งมียศหรือเทียบเท่าไม่สูงกว่าประธานกรรมการไม่เกินสองคนเป็นกรรการมีหน้าที่ ดังนี้

๑.๒.๑ กรรมการนายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๑) มีหน้าที่เรียกชื่อทหารกองเกินซึ่งถูกเรียกมาตรวจเลือก จัดดูแลทหารกองเกินซึ่งตรวจเลือกแล้ว ให้อยู่รวมเป็นจำพวก ป้องกันมิให้ทหารกองเกินซึ่งตรวจเลือกแล้วปะปนกับทหารกองเกินซึ่งยังมิได้ตรวจเลือกและรับทหารกองเกินซึ่งคณะกรรมการตรวจเลือก กำหนดให้เข้าประจำการ เพื่อนำตัวไปขึ้นทะเบียนหรือนำตัวส่งนายอำเภอเพื่อออกหมายนัดเข้ารับราชการทหาร

๑.๒.๒ กรรมการนายทหารสัญญาบัตร (คนที่ ๒) มีหน้าที่วัดขนาด เก็บยอดเป็นจำพวก ตรวจสอบสลาก ควบคุมการทำสลาก และอ่านสลากในระหว่างการจับสลาก

๑.๓ สัสดีจังหวัดหรือผู้แทนหนึ่งคน ซึ่งมิได้ประจำอยู่ในท้องที่ตรวจเลือกนั้นเป็นกรรมการมีหน้าที่บันทึกผลการตรวจเลือก ในบัญชีเรียกฯ (แบบ สด.๑๖) รับเรื่องราวร้องขอในเหตุต่างๆ ซึ่งนายอำเภอได้สอบสวนแล้ว เตรียมทำสลาก บันทึกผลการจับสลากขึ้นทะเบียน และทำบัญชีคนที่ส่งเข้ากองประจำการ

๑.๔ นายทหารสัญญาบัตรซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น ๑ สาขาเวชกรรมหนึ่งคนหรือหลายคนเป็นกรรมการมีหน้าที่ตรวจร่างกายผู้ที่ถูกเรียกมาตรวจเลือกและออกใบสำคัญให้แก่คนจำพวกที่ ๓ และคนจำพวกที่ ๔ รวมทั้งควบคุมการจับสลาก เมื่อได้ทราบถึงว่าใครเป็นเจ้าหน้าที่ในการตรวจเลือก และมีหน้าที่อย่างใดแล้วต่อไปจะได้กล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการตรวจเลือกต่อไป

๒. ขั้นตอนการตรวจเลือกในการเลือกนั้น จะแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน ดังนี้

๒.๑ ขั้นตอนที่หนึ่ง เมื่อทหารกองเกินมา ณ สถานที่ตรวจเลือกให้เข้าแถวรวมอยู่ตามป้ายตำบลที่ปักไว้ครั้นถึงเวลา ๐๗.๐๐ น. จะมีพิธีเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา โดยประธานกรรมการนำคณะกรรมการตรวจเลือกและเจ้าหน้าที่ทั้งหมดมาเข้าแถว ณ หลังเสาธง จัดให้มีเจ้าหน้าที่เชิญธงชาติ เมื่อธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาแล้วประธานกรรมการจะกล่าวถึงความสำคัญในการเข้ารับราชการทหารเพื่อชี้แจงให้ทหารกองเกินได้ตระหนักถึงความสำคัญ ในการรับราชการทหาร เพื่อชี้แจงให้ทหารกองเกินได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการรับราชการทหารผลเสียหายในการหลีกเลี่ยงขัดขืน

ต่อจากนั้น กรรมการสัสดีจังหวัดจะชี้แจงวิธีปฏิบัติในการร้องขอเข้ากองประจำการ (สมัคร) รวมทั้งการยกเว้นผ่อนผันตลอดจนการขอสิทธิลดวันรับราชการและเหตุต่างๆที่ควรทราบ ต่อจากนั้นจะเริ่มทำการตรวจเลือก ดังนี้

๒.๑.๑ เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ ๑ มีหน้าที่เรียกชื่อตรวจบัตรประจำตัวประชาชนและหมายเรียกเพื่อมิให้เปลี่ยนตัวและผิดคน

๒.๑.๒ เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ ๒ มีหน้าที่ตรวจร่างกายและแบ่งคนเป็นจำพวกกล่าวคือเมื่อตรวจร่างกายแล้ว จะแบ่งคนออกเป็น ๔ จำพวก คือ

๒.๑.๒.๑ จำพวกที่ ๑ ได้แก่ คนซึ่งร่างกายสมบูรณ์ดีไม่มีอวัยวะพิการหรือผิดส่วนแต่อย่างใด

๒.๑.๒.๒ จำพวกที่ ๒ได้แต่ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงกับทุพพลภายตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๑๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ เช่น ตาเหล่อ ช่องหูมีหนองเรื้อรังและทั้งแก้วหูทะลุ คอพอก มือหรือแขนลีบหรือบิดเก ไส้เลื่อนลงถุง ฯลฯ

๒.๑.๒.๓ จำพวกที่ ๓ ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารทหารในขณะนั้นได้เพราะป่วย ซึ่งจะบำบัดให้หายไม่ได้ภายในกำหนด ๓๐ วัน กรณีนี้ให้เรียกมาตรวจเลือกในคราวถัดไปเมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกได้ตรวจเลือกแล้วยังคงเป็นคนจำพวกที่ ๓ อยู่รวม ๓ ครั้ง ให้งดเรียก (การนับครั้งจะนับครั้งให้เฉพาะที่ได้ตัวมาตรวจเลือกถ้าตัวไม่มาตรวจเลือกไม่นับครั้งให้)

๒.๑.๒.๔ จำพวกที่ ๔ ได้แก่ คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถรับราชการได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ เช่น ต้อหินหูหนวกทั้งสองข้าง ลิ้นหัวใจพิการ หืด เบาหวาน กระเทย โรคจิต ใบ้ คนเผือกฯลฯ (ปลดพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ ตามกฎหมาย)

เมื่อตรวจร่างกายกำหนดคนเป็นจำพวกแล้ว คนจำพวกที่ ๑ เจ้าหน้าที่จะนำตัวไปยังโต๊ะที่ ๓ เพื่อทำการวัดขนาด ส่วนคนจำพวกที่ ๒, ๓ และ ๔ ให้ไปรอที่โต๊ะที่ ๓ เพื่อทำการวัดขนาด ส่วนคนจำพวกที่ ๒, ๓ และ ๔ ให้ไปรอที่โต๊ะประธานกรรมการเพื่อตรวจสอบปล่อยตัว

๒.๑.๓ เจ้าหน้าที่โต๊ะที่ ๓ มีหน้าที่ วัดขนาด โดยกระทำดังนี้ ให้ผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกยืนตั้งตัวตรงส้นเท้าชิดกัน ขนาดสูงให้วัดตั้งแต่ตรงส้นเท้าจนสุดศีรษะ ขนาดรอบตัวให้คล้องแถบเมตรรอบตัวให้ริมล่างของแถบเมตรได้ระดับราวนมโดยรอบ วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้งและหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง

เมื่อวัดขนาดแล้วจะแบ่งทหารกองเกินเป็น ๓ กลุ่มดังนี้

๒.๑.๓.๑ กลุ่มที่ ๑ เรียกว่า คนได้ขนาดคือ มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขึ้นไป และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตรขึ้นไป

๒.๑.๓.๒ กลุ่มที่ ๒ เรียกว่า คนขนาดถัดรอง คือ มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๕๙ เซนติเมตร ลงมาถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตรขึ้นไป คนขนาดถัดรองนี้ หากมีคนขนาดสูงกว่าและได้ขนาดพอ (คนได้ขนาด) คณะกรรมการตรวจเลือกจะคัดออก ปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องจับสลาก

๒.๑.๓.๓ กลุ่มที่ ๓ เรียกว่า คนไม่ได้ขนาดคือ มีขนาดสูงไม่ถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร หรือขนาดรอบตัวไม่ถึง ๗๖ เซนติเมตร อย่างใดอย่างหนึ่ง คนไม่ได้ขนาดนี้คณะกรรมการตรวจเลือกจะคัดออก ปล่อยตัวไปโดยไม่ต้องจับสลากแต่อย่างใด

เมื่อได้วัดขนาดและแบ่งคนเป็นกลุ่มต่างๆแล้ว ต่อไปก็จะเป็นวิธีการคัดเลือกผู้ที่จะต้องจับสลาก (แดง - เป็นทหาร, ดำ - ปล่อย) ต่อไป

วิธีคัดเลือกนั้นผู้ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะส่งเข้าเป็นทหารได้คือ คนจำพวกที่ ๑, คนจำพวกที่ ๒ และคนผ่อนผัน ที่มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัว ๗๖ เซนติเมตร ขึ้นไป โดยมีวิธีคัดเลือกดังนี้

ก. เลือกคนจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขึ้นไปก่อนถ้ามีจำนวนมากกว่าที่ทางราชการต้องการ ก็ให้จับสลาก

ข. ถ้าคนจำพวกที่ ๑ ซึ่งมีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขึ้นไป มีไม่พอกับจำนวนที่ทางราชการต้องการก็ให้เลือกคนที่มีขนาดสูงถัดรองลงมา (๑๕๙ ซม., ๑๕๘ ซม.) ตามลำดับจนพอกับจำนวนที่ต้องการ

ค. ถ้าคนจำพวกที่ ๑ (คนที่มีขนาดสูง ๑ เมตร ๖๐ เซนติเมตร ขึ้นไป และคนขนาดถัดรอง) มีไม่พอกับจำนวนที่ต้องการก็ให้เลือกคนจำพวกที่ ๒ ถ้ายังไม่พออีก ก็ให้เลือกจากคนที่จะได้รับการผ่อนผัน

๒.๑.๔ โต๊ะประธานกรรมการ มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องปล่อยตัวคนจำพวกที่ ๔ , คนจำพวกที่ ๓ คนไม่ได้ขนาด, คนขอผ่อนผัน, คนจำพวกที่ ๒ คนขนาดถัดรอง (ถ้ามีคนได้ขนาดพอ) และคนได้ขนาด (กรณีที่มีคนร้องขอหรือสมัครเป็นทหารพอกับจำนวนที่ต้องการแล้วไม่ต้องจับสลาก) พร้อมกับมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.๔๓ ให้รับไปในวันตรวจเลือก)

๒.๒ ขั้นตอนที่สองซึ่งได้แก่การจับสลากซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่จะเรียกชื่อคนจำพวกที่ ๑ ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะต้องจับสลาก (คัดเลือกแล้ว) มารวมเป็นตำบลๆ เพื่อดำเนินการจับสลากโดยมีสลากสีแดงและสลากสีดำรวมกันเท่ากับคนที่ต้องจับสลาก สลากสีแดงให้มีเท่ากับจำนวนคนที่ต้องส่งเข้ากองประจำการ โดยหักคนหลีกเลี่ยงขัดขืนและคนร้องขอเข้ากองประจำการ (สมัคร) ออก นอกนั้นเหลือเป็นสลากสีดำ

การที่จะกำหนดให้ตำบลใดจับสลากก่อนหลังนั้น จะกระทำโดยวิธีให้ผู้แทนของแต่ละตำบลซึ่งอาจจะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้าน เทศมนตรี หรือผู้แทนทหารกองเกินของตำบลนั้นๆมาจับสลาก

ผู้ที่จับสลากดำ ประธานกรรมการตรวจเลือกจะมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) ให้รับไปในวันตรวจเลือกและปล่อยตัวไป

ผู้ที่จับสลากแดง ประธานกรรมการตรวจเลือกจะมอบใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) ให้รับไปในวันตรวจเลือกและนำตัวรับราชการทหาร (แบบ สด.๔๐) จากเจ้าหน้าที่ของอำเภอเพื่อให้ไปรายงานตัวเข้ารับราชการกองประจำการตามกำหนดในหมายนัดของนายอำเภอต่อไป

๒.๓ สำหรับผู้ที่จับสลากแดงโดยปกติจะต้องเป็นทหารมีกำหนด ๒ ปี แต่ถ้าเป็นผู้มีคุณวุฒิพิเศษแล้วกฎหมายยังเปิดโอกาสให้สิทธิในการลดวันรับราชการได้ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ ทั้งนี้การขอสิทธิลดวันรับราชการทหารต้องนำหลักฐานแสดงคุณวุฒิพิเศษไปยื่นต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกโดยทำคำร้องไว้ พร้อมทั้งขอใบรับหลักฐานจากเจ้าหน้าที่ด้วยผู้ที่อยู่ในกองประจำการน้อยกว่า ๒ ปี ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒๔ (พ.ศ.๒๕๐๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗


ผู้สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๓ ขึ้นไป ขึ้นไป ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ โดยมิต้องเข้ารับราชการในกองประจำการแต่อย่างใด

๒.๔ คณะกรรมการชั้นสูง

อนึ่ง ผู้ที่ถูกกำหนดให้เป็นทหาร (จับได้ใบแดง) เห็นว่าคณะกรรมการตรวจเลือกตัดสินไม่ถูกหรือไม่ยุติธรรมให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการชั้นสูงได้ทันที โดยไม่ต้องผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น แต่ถ้าถึงกำหนดที่จะต้องไปเป็นทหารกองประจำการก็ให้เข้าเป็นทหารก่อนจนกว่าจะได้รับคำตัดสิน (คณะกรรมการชั้นสูงประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้แทนหนึ่งคนเป็นประธาน, เจ้าหน้าที่สัสดีซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าสัสดีจังหวัดหนึ่งคน และข้าราชการอื่นซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าหัวหน้าแผนก หรือเทียบเท่าหนึ่งคนเป็นกรรมการ)


โดยปกติแล้วชายที่มีสัญชาติไทย เมื่อมีอายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ในปีใดจะต้องไปเกณฑ์ทหารทุกคน แต่กฎหมายก็ยังเปิดโอกาสให้สิทธิแก่บุคคลบางประเภทได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเกณฑ์ทหารเช่นบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๕๘๗ โดยมีรายละเอียดสรุปพอเป็นสังเขปดังนี้

๑. ยกเว้นให้ทั้งในยามปกติและในยามสงคราม (มาตรา ๑๓ )ได้แก่

๑.๑ พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์หรือที่เป็นเปรียญและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์ (ถ้าได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้วให้จำหน่ายออกจากบัญชีทหาร) แต่ถ้าลาสิกขาให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการประจำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

๑.๒ คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๗๙ เช่น ต้อหิน หูหนวกทั้งสองข้าง ลิ้นหัวใจพิการ หืด เบาหวาน โรคจิต ใบ้ คนเผือก ฯลฯ บุคคลประเภทนี้ต้องไปรับหมายเรียกฯ ตามกำหนดและเข้ารับการตรวจเลือกตามกฎหมายเรียกฯ เมื่อคณะกรรมการตรวจเลือกเห็นว่ามีอาการโรคตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวงจริง จะปลดเป็นพ้นราชการทหารประเภทที่ ๒ และทางจังหวัดจะออกใบสำคัญให้ไว้เป็นหลักฐาน

๑.๓ บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๔๕ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗ บุคคลประเภทนี้ได้แก่ ชนชาวเขาเผ่าต่างๆ ในบางพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะไม่รู้หนังสือภาษาไทยอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีก็แตกต่างกันด้วย ดังนั้น ทางราชการจึงไม่ประสงค์ที่จะให้บุคคลประเภทนี้เป็นทหาร เช่น ชนชาวกระเหรี่ยง บ้านแม่สอด หมู่ที่ ๔ ตำบลคลองลาน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ฯลฯ

๒. ยกเว้นให้เฉพาะในยามปกติเท่านั้น (มาตรา ๑๔ )ได้แก่

๒.๑ พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง (ให้นำหลักฐานการสำเร็จนักธรรม ไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอหรือคณะกรรมการตรวจเลือกเพื่อดำเนินการยกเว้นให้ กรณีนี้ควรจะทำก่อนวันตรวจเลือกเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปในตรวจเลือกจะเป็นการสะดวกกว่า) แต่ประจำอยู่ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่ลาสิกขา หากแจ้งเกินกำหนดนี้จะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

๒.๒ นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (กรณีนี้ให้ไปติดต่อขอยกเว้นต่อนายอำเภอท้องที่ ซึ่งสุเหร่า อาราม หรือสำนักตั้งอยู่เพื่อตรวจสอบหลักฐาน เมื่อเห็นว่าถูกต้องจะดำเนินการยกเว้นให้แต่เมื่อพ้นจากฐานะประจำในกิจของศาสนา ให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ตนอยู่หรือทำการอยู่ภายใน ๓๐ วัน นับตั้งแต่วันที่พ้นจากฐานะเช่นนั้นหากแจ้งเกินกำหนดจะถูกดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปี บริบูรณ์ ก็ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

๒.๓ บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร (นศท.) และนักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม(กรณีนี้เจ้าตัวต้องประสานกับสถาบันการศึกษา เพื่อดำเนินการของยกเว้น)

๒.๔ ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎหมายกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ (เจ้าตัวจะต้องประสานกับส่วนราชการต้นสังกัด เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)

๒.๕ นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม (เจ้าตัวจะต้องประสานกับศูนย์ฝึก ฯ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)

๒.๖ บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงชาติ และบุคคลซึ่งได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน (กรณีนี้ให้นำหลักฐานการแปลงสัญชาติหรือหลักฐานการต้องโทษไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอ เพื่อดำเนินการขอยกเว้นให้)

อธิบายศัพท์

- คนขอผ่อนผัน คือ ทหารกองเกินที่อยู่ระหว่างการศึกษาในมหาวิทยาลัย วิทยาลัย หรือโรงเรียนอาชีวะ และโรงเรียนประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ ตามที่กำหนดในกฎหมาย ซึ่งสถานศึกษาได้ส่งรายชื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นภูมิลำเนาทหารแล้ว

- คนหลีกเลี่ยงขัดขืน คือ ทหารกองเกินที่รับหมายเรียกของนายอำเภอแล้วไม่มา ให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก ซึ่งได้ตัวมาดำเนินคดี และศาลได้พิพากษาให้ลงโทษ

- คนที่ขาดการตรวจเลือกคือ ทหารกองเกินที่รับหมายเรียกของนายอำเภอ และไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกทำการตรวจเลือก แต่ยังไม่ได้ตัวมาดำเนินคดี หรืออยู่ในระหว่างดำเนินคดี

- คนยกเว้น คือ ทหารกองเกินที่ได้รับการยกเว้นไม่เรียกมาตรวจเลือกในยามปกติ เช่น พระภิกษุนักธรรม ผู้ที่อยู่ระหว่างการฝึกวิชาการทหาร ฯลฯ

- คนจำพวกที่ ๑ ได้แก่ ทหารกองเกินซึ่งมีรายการสมบูรณ์ดี

- คนจำพวกที่ ๒ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายที่เห็นได้ชัดว่าไม่สมบูรณ์ดีเหมือนคนจำพวกที่ ๑ แต่ไม่ถึงกับทุพพลภาพ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๔๗ (พ.ศ.๒๕๑๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗

- คนจำพวกที่ ๓ ได้แก่ คนซึ่งมีร่างกายยังไม่แข็งแรงพอที่จะรับราชการทหารในขณะนั้นได้ เพราะป่วยซึ่งจะบำบัดให้หายภายในกำหนด ๓๐ วันไม่ได้

- คนจำพวกที่ ๔ ได้แก่ คนพิการทุพพลภาพ หรือมีโรคซึ่งไม่สามารถจะรับราชการได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๔ (พ.ศ.๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ.๒๔๙๗

- ขนาดรอบตัว คือ ความกว้างของรอบอกซึ่งมีวิธีวัดโดยให้คล้องแถบเมตรรอบตัวในลักษณะกางแขนหรือยกแขนทั้งสองข้างขึ้นให้ริมล่างของแถบเมตรได้ระดับราวนมโดยรอบ และเมื่อได้ลดแขนลงในลักษณะท่าตรงแล้วให้วัดเมื่อหายใจออกเต็มที่หนึ่งครั้ง และหายใจเข้าเต็มที่หนึ่งครั้ง

- ขนาดถัดรอง คือ ผู้ที่มีขนาดสูงตั้งแต่ ๑ เมตร ๕๙ เซนติเมตร ลงมาถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร และมีขนาดรอบตัวตั้งแต่ ๗๖ เซนติเมตรขึ้นไป ในเวลาหายใจออก

- คนไม่ได้ขนาด คือ ผู้ที่มีขนาดสูงไม่ถึง ๑ เมตร ๔๖ เซนติเมตร หรือมีขนาดรอบตัวไม่ถึง ๗๖ เซนติเมตร


นอกจากทางราชการจะยกเว้นให้แก่บุคคลบางประเภทไม่ต้องไปเข้ารับราชการเกณฑ์ทหารแล้ว ยังผ่อนผันให้แก่บุคคลบางประเภทเช่นกัน มีรายละเอียดดังนี้

๑. ผ่อนผันให้แก่บุคคลบางประเภทไม่ต้องไปตรวจเลือกเป็นการผ่อนผันให้เฉพาะคราว (มาตรา ๒๗) ได้แก่

๑.๑ ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการอันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง

๑.๒ ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการหรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม

๑.๓ บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม

กรณีตามข้อ ๑.๑, ๑.๒, และ ๑.๓ เจ้าตัวที่ถูกเรียกจะต้องนำหมายเรียกฯ รายงานส่วนราชการต้นสังกัดที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อส่งรายชื่อพร้อมหลักฐานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหาร ซึ่งจะได้สั่งผ่อนผันให้ตามระเบียบ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มอบอำนาจในการผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติราชการแทน)

๑.๔ นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ

๑.๔.๑ ถ้าเป็นทุนของกระทรวง ทบวง กรม หรือ ส่วนราชการใด โดยอยู่ในความประพฤติของผู้ดูแลนักเรียนไทย ของรัฐบาลไทยสำหรับประเทศนั้นๆ สำนักงาน ก.พ.จะเป็นผู้ดำเนินการผ่อนผันต่อผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหารให้ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกหนังสือผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๑) ให้ไว้เป็นหลักฐานโดยมีเงื่อนไขว่า "ถ้าต้องออกจากการศึกษากลับจากต่างประเทศมาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด หรือ ก.พ. ได้ขอถอนการผ่อนผัน การผ่อนผันเป็นอันยุติ" กรณีนี้เจ้าตัวจะต้องแจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารและถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

๑.๔.๒ ถ้าเป็นทุนส่วนตัว ต้องให้บิดาหรือมารดาหรือผู้ปกครอง ยื่นคำร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหาร (อำเภอที่ได้ลงบัญชีทหารกองเกินไว้แล้ว) พร้อมด้วยหลักฐานดังนี้

๑.๔.๒.๑ หนังสือรับรองของสำนักศึกษา(ระบุว่าไปศึกษาวิชาอะไร หลักสูตรกี่ปีให้แปลเป็นภาษาไทยกำกับ ลงชื่อ ตำแหน่งผู้แปลด้วย)

๑.๔.๒.๒ หนังสือรับรองของสถานทูต หรือ สถานกงสุล หรือผู้ดูแลนักเรียนไทยในประเทศนั้นๆ

๑.๔.๒.๓ สำเนาใบสำคัญ (แบบ สด.๙)

๑.๔.๒.๔ หมายเรียกฯ (แบบ สด.๓๕) ถ้ามี

๑.๔.๒.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน

เมื่อทางอำเภอสอบสวนและพิจารณาแล้วเห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับการผ่อนผัน ก็จะดำเนินการให้โดยส่งหลักฐานไปยังจังหวัดเมือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแล้ว เห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ ก็จะออกหนังสือผ่อนผันการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๔๑) ให้ไว้เป็นหลักฐานโดยมีเงื่อนไขว่า "ถ้าต้องออกจากการศึกษา กลับจากต่างประเทศ มาถึงประเทศไทยก่อนกำหนด การผ่อนผันเป็นอันยุติ"กรณีนี้เจ้าตัวจะต้องแจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอภูมิลำเนาทหารและถ้าอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกด้วย

๑.๕ เกิดเหตุสุดวิสัย กรณีนี้ไม่มีการผ่อนผันล่วงหน้าแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นโดยแม้จะได้ระมัดระวังแล้วก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ทหารกองเกินเดินทางไปเข้ารับการตรวจเลือก ประสพอุบัติเหตุรถคว่ำหรือเรือล่มระหว่างเดินทาง จนไปเข้ารับการตรวจเลือกไม่ได้อย่างนี้ ก็ไม่ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน แต่การที่จะทราบว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่นั้นจะทราบได้ต่อเมื่อทางอำเภอได้ทำการสอบสวนข้อเท็จจริงแล้ว

๑.๖ ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือ อายุ ๒๒-๒๙ ปีบริบูรณ์ถ้าได้รับหมายเรียกและไม่สามารถจะไปตามหมายนั้นได้เพราะไม่มีค่าพาหนะหรือจะไปไม่ทัน เมื่อนายอำเภอนั้นสอบสวนได้ความจริงก็จะรับเข้าตรวจเลือกตามระเบียบ

๑.๗ ป่วยไม่สามารถเข้ารับการตรวจเลือกได้ โดยให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก กรณีนี้ต้องนำใบรับรองแพทย์ไปแสดงด้วย และเมื่อเสร็จการตรวจเลือกแล้ว ทางอำเภอจะเรียกตัวผู้ไปแจ้งสอบสวน และสอบสวนตัวผู้ป่วยด้วย หากป่วยจริงก็ไม่ถือว่าหลีกเลี่ยงขัดขืน ทางอำเภอจะมอบหมายเรียกให้มาเข้ารับการตรวจเลือกในปีถัดไป

๒. ผ่อนผันให้แก่บุคคลบางประเภทในกรณีที่มีคนพอ (มาตรา ๒๙)ได้แก่

๒.๑ บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ หรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกันคงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมากรตรวจเลือกพิจารณาผ่อนผันให้หนึ่งคน

๒.๒ บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตาย หรือไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่น้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี่ยงดู

การผ่อนผันตามข้อ ๒.๑ และ ๒.๒ จะต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกทหารไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน เพื่อนายอำเภอจะได้สอบสวนหลักฐานไว้ก่อนวันตรวจเลือก และต้องร้องขอต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้พิจารณา หากเห็นว่าอยู่ในหลักเกณฑ์ก็จะผ่อนผันให้ กรณีนี้เป็นการผ่อนผันเป็นปีๆไป หากปีต่อไปยังมีความจำเป็นอยู่เช่นเดิม ก็ต้องขอผ่อนผันใหม่และปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อนๆ ถ้าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ผ่อนผันเมื่อใด และอายุยังไม่ถึง ๓๐ ปีบริบูรณ์ ก็ต้องเข้ารับการตรวจเลือก

๒.๓ บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ ๗๓ (พ.ศ.๒๕๓๖) ออกตามความในพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗

๒.๓.๑ นิสิตหรือนักศึกษามหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งระหว่างการศึกษาที่ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาโท และผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่นิสิตหรือนักศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ ผ่อนผันให้ในระหว่างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลหรือสถาบันทางแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมอีกปีหนึ่ง สำหรับมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งมีผลการศึกษาสอบไล่ได้ภาคละไม่น้อยกว่า ๙ หน่วยกิต ทุกภาคติดต่อกันเว้นแต่ภาคใดขาดสอบเพราะเหตุสุดวิสัยซึ่งมหาวิทยาลัยรับรอง

๒.๓.๒ นักศึกษามหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนผ่อนผันให้เฉพาะ ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรหรือปริญญาที่ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาโท และผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์ เว้นแต่นักศึกษาวิชาแพทย์ศาสตร์ ผ่อนผันให้ในระหว่างที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล หรือสถาบันทางแพทย์เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรมอีกปีหนึ่ง

๒.๓.๓ นักเรียนหรือนักศึกษาโรงเรียนอาชีพหรือวิทยาลัยสังกัดหรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง หรือองค์การของรัฐ ผ่อนผันให้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาเพื่อรับประกาศนียบัตรหรือปริญญาตรี หรือวิทยฐานะซึ่งทางราชการรับรองว่าเทียบเท่าได้ไม่สูงกว่าชั้นปริญญาตรี และผ่อนผันให้จนถึงอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์

๒.๓.๔ นักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายผ่อนผันให้ไม่เกินอายุ ๒๒ ปีบริบูรณ์

วิธีปฏิบัติในการผ่อนผันนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะต้องนำหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) ไปแสดงต่อสถานศึกษาเพื่อให้เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาดำเนินการขอผ่อนผันให้ ดังนี้

ก. กรณีเป็นโรงเรียน ให้แจ้งต่อ กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่ากรมซึ่งโรงเรียนนั้นอยู่ในสังกัดหรืออยู่ในความควบคุมแล้วแต่กรณี เพื่อขอผ่อนผันไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดที่ผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการ (ปีที่มีอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์)

ข. กรณีเป็นมหาวิทยาลัย สถาบัน หรือวิทยาลัยของรัฐให้ขอผ่อนผันไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการ (ปีที่มีอายุครบ ๒๑ ปีปริบูรณ์)

ค. สำหรับ มหาวิทยาลัย สถาบัน หรือวิทยาลัย ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้แจ้งต่อทบวงมหาวิทยาลัย เพื่อขอผ่อนผันไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการ

ข้อควรจำ

นักเรียน นิสิต นักศึกษา ซึ่งมีสิทธิได้รับการผ่อนผันตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการศึกษา จะต้องไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือก ในวันตรวจเลือกทุกปีตามที่กำหนดไว้ในหมายเรียกเข้ารับราชการทหาร (แบบ สด.๓๕) เมื่อไปแสดงตนจะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือก (แบบ สด.๔๓) ในฐานะคนขอผ่อนผันไว้เป็นหลักฐาน หากไม่ไปแสดงตนต่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะมีความผิดตามกฎหมาย และเมื่อสำเร็จการศึกษาหรืออายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์แล้ว ถือว่าหมดเหตุผ่อนผันให้แจ้งด้วยตนเองต่อนายอำเภอหรือท้องที่ที่ตนอยู่ หรือทำการประจำภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันที่สำเร็จการศึกษาหรือมีอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์แล้ว เพื่อที่จะต้องเข้ารับการตรวจเลือกทหาร (เกณฑ์ทหาร) ต่อไป

อย่างไรก็ดี หลังจากทำเรื่องขอผ่อนผันแล้วเพื่อความมรอบคอบ ประมาณเดือนมีนาคมของปีที่สัสดีจังหวัดภูมิลำเนาทหารด้วยตัวเอง หรือให้ผู้ปกครองไปสอบถามแทนก็ได้ว่าเรื่องขอผ่อนผันได้ดำเนินการแล้วหรือยัง หากยังจะได้ดำเนินการแก้ไขได้ทันเวลา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการผิดพลาดทางธุรการจนเป็นเหตุให้เสียสิทธิต้องเข้ารับการตรวจเลือกจะอาจถูกเข้ากองประจำการได้

๓. การผ่อนผันให้แก่ผู้ที่ถูกเป็นทหารเพื่อลาศึกษา นักเรียน นิสิตนักศึกษาที่ไม่ได้รับการผ่อนผัน เมื่อไปตรวจเลือกทหารและถูกเข้ากองประจำการ จะมีสิทธิได้รับการผ่อนผันให้ลาศึกษาต่อได้เฉพาะหลักสูตรสาขาวิชาและในสถานศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่เท่านั้น ถ้าสำเร็จการศึกษาหรือต้องออกจากสถานศึกษานั้นๆ หรือมีอายุครบ ๒๖ ปีบริบูรณ์แล้ว ก็ให้กลับเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการตามสังกัดและจะต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ดังนี้ คือ

๓.๑ เป็นผู้ที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถานศึกษาแห่งใหม่แต่อยู่ในระหว่างรอฟังผลสอบ

๓.๒ เป็นผู้ที่ไม่ได้ขอผ่อนผันการตรวจเลือกตามกฎหมายเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยเพราะประสพอุบัติเหตุหรือป่วยซึ่ง

๓.๓ กรณีที่ไม่ใช่ความผิดของนักศึกษาและเป็นเหตุให้นักศึกษาไม่ได้รับสิทธิผ่อนผัน เช่น เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาส่งรายชื่อเพื่อขอผ่อนผันผิดพลาดหรือตกหล่น, หรือเอกสารหายระหว่างส่งไปยังจังหวัดภูมิลำเนาทหาร, หรือส่งภายหลังการตรวจเลือกเสร็จสิ้นแล้ว

แต่ถ้านักเรียน นิสิต นักศึกษาผู้ใดซึ่งได้รับการผ่อนผันอยู่แล้วไปยื่นคำร้องขอสละสิทธิการผ่อนผันเพื่อเข้ารับการตรวจเลือก กรณีนี้ถ้าถูกเข้ากองประจำการไม่มีสิทธิผ่อนผันให้ลาศึกษาต่อ เพราะเป็นความสมัครใจของเจ้าตัวเอง

การยื่นเรื่องขอผ่อนผัน กรณีก่อนรายงานตัวเข้ารับราชการทหารกองประจำการ ตามกำหนดในหมายนัดของนายอำเภอ ให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ โดยผ่านกรมและกระทรวงเจ้าสังกัดแล้วให้กระทรวงเจ้าสังกัดแจ้งต่อกระทรวงกลาโหม แต่ถ้าเข้ากองประจำการแล้วให้ยื่นเรื่องขอลาศึกษาต่อจากต้นสังกัด (หน่วยทหาร) เสนอตามสายการบังคับบัญชาจนถึงกระทรวงกลาโหม ส่วนการจะอนุมัติหรือไม่อนุมัตินั้นเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ถ้าอนุมัติให้ลาศึกษาต่อหน่วยทหารต้นสังกัดจะออกบัตรอนุญาตลาแบบ ๒ ให้ไว้เป็นหลักฐาน

๔. การผ่อนผันการให้แก่แพทย์ที่ถูกเป็นทหารเข้ารับราชการทหารกองประจำการจะผ่อนผันให้แก่แพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันชั้น ๑ สาขาเวชกรรมซึ่งจบการศึกษาแล้ว และต้องรับราชการชดใช้ทุนให้แก่ทางราชการ เมื่อถูกเข้ากองประจำการจะผ่อนผันให้รับราชการในกองประจำการน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยให้ลาพักรอการปลด เพื่อไปรับราชการชดใช้ทุนตามสัญญา ดังนี้

๔.๑ ผู้ที่สำเร็จการฝึกวิชาทหารชั้นปีที่ ๑ หรือ ชั้นปีที่ ๒ จากกรมการรักษาดินแดน เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วให้ลาพักรอการปลดเพื่อไปรับราชการชดใช้ทุนแก่ทางราชการตามส่วนราชการต้นสังกัด โดยขออนุมัติต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แต่ถ้ายังไม่ได้รับการฝึกวิชาทหาร ให้ทำการฝึกวิชาทหารตามระเบียบเป็นเวลา ๘ สัปดาห์ก่อน

๔.๒ ให้กระทรวงหรือทบวงต้นสังกัดที่แพทย์ผู้นั้นรับราชการอยู่ จัดทำบัญชีรายชื่อเฉพาะแพทย์ที่จบการศึกษาแล้ว และจะต้องรับราชการชดใช้ทุนแก่ทางราชการต่อกระทรวงกลาโหมเป็นปีๆ ก่อนวันตรวจเลือกไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน ถ้าผู้ใดถูกเข้าเป็นทหารกองประจำการก็ให้ส่งบัญชีรายชื่อต่อกระทรวงกลาโหมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อเสร็จการตรวจเลือกของผู้นั้นแล้ว เพื่อดำเนินการตามข้อ ๔.๑

อธิบายศัพท์

- ก่อนรายงานตัว คือ นักศึกษาที่จับสลากแล้วถูกเข้ากองประจำการแต่ยังไม่เข้ารายงานตัวต่อหน่วยต้นสังกัด เช่น จับสลากได้ผลัด ๒ คือ ต้องเข้าหน่วยในวันที่ ๑ พ.ย. แต่เจ้าตัวยังไม่ได้เข้าหน่วยในวันที่ ๑ พ.ย.

- เข้ากองประจำการแล้ว คือ นักศึกษาที่จับสลากแล้วถูกเข้ากองประจำการ ได้เข้ารายงานตัวกับหน่วยแล้ว เช่น จับสลากได้ผลัด ๒ คือ ต้องเข้าหน่วย
ใน ๑ พ.ย. ซึ่งเจ้าตัวได้เข้าหน่วยตั้งแต่วันที่ ๑ พ.ย. ไปแล้ว


ผู้ที่ต้องถูกเรียกพลมีหลายประเภท แต่จะกล่าวถึงเฉพาะ "ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑" คือ ทหารที่ปลดจากกองประจำการ โดยรับราชการในกองประจำการ จนครบกำหนด และทหารกองเกินที่จบการฝึกวิชาทหารในชั้นปีที่ ๓ (รด.ปี ๓) ขึ้นไป เมื่อขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเมื่อปลดเป็นกองหนุนจะได้รับหนังสือสำคัญ (สด.๘) พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ประเภทที่ ๑ ไว้เป็นหลักฐานภายในระยะเวลาประมาณไม่เกิน ๒ ปี ทางราชการจะเรียกเข้ารับราชการทหารในการเรียกพล ซึ่งจะไม่เรียกทุกคน ดังนั้น ผู้ที่ถูกเรียกพลก็จะต้องไปตามวัน เวลา และสถานที่ ที่กำหนดต่อไป

๑. การเรียกพลมีดังนี้

๑.๑ การเรียกพลเพื่อตรวจสอบ คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร กำหนดไม่เกิน ๑ วันโดยกระทำในยามปกติเพื่อเข้ารับการตรวจสอบสภาพ ตรวจสอบบัญชี และซักซ้อมระเบียบ

๑.๒ การเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหาร มีกำหนดไม่เกิน ๖๐ วัน โดยกระทำในยามปกติเพื่อเข้ารับการฝึกทบทวนวิชาทหาร

๑.๓ การเรียกพลเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม คือ การเรียกกำลังพลสำรอง เข้ารับราชการทหารมีกำหนดไม่เกิน ๖๐ วัน โดยกระทำในยามปกติ และยามสถานการณ์คับขัน เพื่อทดลองแผนหรือเตรียมรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้

๑.๔ การระดมพล คือ การเรียกกำลังพลสำรองเข้ารับราชการทหารในยามที่ประเทศชาติอยู่ในสถานการณ์คับขัน โดยมีกำหนดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นเพื่อป้องกันประเทศ หรือปราบปรามจลาจลและขยายกำลังอัตราสงคราม

การเรียกพลทั้ง ๔ ประเภทนี้ เป็นการเตรียมพลเพื่อให้กำลังพลมีประสิทธิภาพในการพร้อมอยู่ตลอดเวลา ทหารกองหนุน เมื่อได้รับหมายเรียกพลจากนายอำเภอท้องที่แล้ว ต้องไปเข้ารับการเรียกพลตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้ในหมายเรียกพล หากหลีกเลี่ยงขัดขืนจะมีความผิดตามกฎหมาย คือ หลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๓ เดือน หรือปรับไม่เกิน ๓๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าหลีกเลี่ยงหรือขัดขืนไม่เข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร หรือทดลองความพรั่งพร้อม หรือในการระดมพล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ ๓ เดือน ถึง ๔ ปี

๒. การผ่อนผันการเรียกพล ทหารกองหนุนผู้ใด ถ้าเห็นว่าตนจะได้รับการผ่อนผันไม่ต้องเรียกเข้ารับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึกวิชาทหาร หรือเพื่อทดลองความพรั่งพร้อม เพราะเป็น

๒.๑ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และข้าราชการ (ตั้งแต่ระดับ ๕ หรือเทียบเท่าขึ้นไป) ก็ให้แจ้งต่อสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่ พร้อมส่งหลักฐานขอผ่อนผันไปยังกระทรวงกลาโหม ดังนี้

๒.๑.๑ บัญชีรายชื่อ (แบบ สด.๔๕)

๒.๑.๒ สำเนาหนังสือสำคัญ (แบบ สด.๘๗)

๒.๑.๓ สำเนาหมายเรียกพล (ถ้ามี)

๒.๑.๔ สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล(ถ้ามี)

๒.๑.๕ สำเนาหลักฐานการย้ายภูมิลำเนาทหาร (ถ้ามี)

๒.๒ ครูหรืออาจารย์ ซึ่งประจำการสอนหนังสือ หรือวิชาการต่างๆ จะต้องไปขอผ่อนผันด้วยตนเองต่อนายอำเภอท้องที่ที่ทำการสอนอยู่ (ไม่ต้องส่งไปที่กระทรวงกลาโหม) โดยนำหลักฐาน ดังนี้

๒.๒.๑ สำเนาหนังสือสำคัญ(แบบ สด.๘)

๒.๒.๒ หลักฐานรับรองว่าเป็นครูหรืออาจารย์

๒.๒.๓ สำเนาทะเบียนบ้าน

การขอผ่อนผัน นักเรียน นิสิต และนักศึกษา ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีรายชื่อ (แบบ สด.๔๕) ส่งไปยังกระทรวงกลาโหมทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอให้ได้รับหมายเรียกพลก่อน ให้ขอผ่อนผันได้เมื่อเป็นทหารกองหนุนและอยู่ในระหว่างการศึกษาสำหรับผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งยศเป็นนายทหารสัญญาบัตรยศตั้งแต่ ว่าที่ร้อยตรี ขั้นไป จะต้องปฏิบัติตามข้อบังคับทหาร ว่าด้วยการแบ่งประเภทนายทหารสัญญาบัตร ซึ่งถือว่าเป็นนายทหารกองหนุน โดยปกติมีหน้าที่เข้ารับราชการปีหนึ่งไม่เกิน ๒ เดือน จึงไม่มีสิทธิที่จะขอผ่อนผันการเรียกพล ทหารกองหนุนเมื่อได้รับหมายเรียกพลแล้ว ขอได้สละเวลาไปรับเวลาทหารด้วยความสมัครใจ เพื่อเป็นการพบปะผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมรุ่น ทั้งเป็นการฝึกทวนแนะนำอาวุธใหม่ๆในช่วงเวลาสั้นๆ ดังนั้น อย่าได้คิดหลีกเลี่ยง ขัดขืน หรืออ้างความจำเป็นใด ๆ จนเป็นเหตุให้ขาดการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีต่อชาติ ทั้งนี้ เพราะประโยชน์ต่อตัวท่านเองและประเทศชาติในที่สุด


ถาม: ถ้าบิดามารดาเป็นคนไทย ไปประกอบอาชีพส่วนตัวที่สหรัฐอเมริกา และมีบุตรชายเกิดที่นั่น ๑ คน ตั้งแต่บุตรชายเกิดทั้งบิดามารดาและบุตรไม่เคยกลับประเทศไทยเลย บุตรไม่มีชื่อในทะเบียนบ้านและยังไม่ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชนในปี ๒๕๔๑ บุตรมีอายุย่าง ๑๘ ปี ซึ่งครบกำหนดจะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน บิดาจึงบอกแก่บุตรให้เขียนจดหมายถึงอา (น้องชายของบิดา) ซึ่งอยู่ในประเทศไทยพร้อมกับให้ส่งสำเนาสูติบัตร และให้บุตรแจ้งว่ามีตำหนิแผลเป็นที่คอมาเพื่อให้อาไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทนไว้ก่อน เพราะกลัวว่าเมื่อกลับมาอยู่ประเทศไทย หากไม่ลงบัญชีฯ ตามที่กำหนดจะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน กรณีนี้จะเป็นการถูกต้องหรือไม่ อย่างไร

ตอบ: กรณีนี้อาจจะต้องนำสำเนาสูติบัตรไปพบเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอที่บิดามารดามีภูมิลำเนา เพื่อแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกิน แทนเจ้าการลงบัญชีทหารกองเกินแทน เจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอจะให้ผู้แจ้งแทนกรอกข้อความลงในใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐานแล้วเห็นว่ายังขาดสำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชนของผู้ขอลงบัญชีฯ ก็จะบันทึกเสนอนายอำเภอให้ชะลอการลงบัญชีทหารกองเกินไว้ก่อนเมื่อหลักฐานครบแล้วจึงค่อยสอบสวนดำเนินการรับลงบัญชีฯ ให้ตามระเบียบเมื่อนายอำเภอเห็นชอบ ให้ผู้แจ้งเซ็นทราบไว้ในใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) แล้วถ่ายสำเนาให้ผู้แจ้งแทนเก็บไว้เป็นหลักฐาน ๑ ฉบับ เมื่อมีเอกสารครบแล้ว แม้จะมาลงบัญชีฯ เกินกำหนดก็ไม่ต้องถูกดำเนินคดีฐานหลีกเลี่ยงขัดขืนแต่อย่างใด เพราะได้ยื่นคำร้อง คือ ใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) ไว้แล้ว

ถาม: เหลือง เป็นผู้มีสัญชาติไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่ไต้หวันและมีความสัมพันธ์กับนายจ้างจนมีบุตรชายร่วมกัน ๑ คน ชื่อเหลียงเกิดเมื่อ ๒ เมษายน ๒๕๒๔ ต่อมาเมื่อ ๑๓ เมษายน ๒๕๔๙ นางเหลืองได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมบุตร และมาอยู่กับแม่ที่อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาของตนและได้เพิ่มชื่อบุตรชายไว้ในทะเบียนบ้านเรียบร้อย ต่อจากนั้นเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๒๙ นางเหลืองได้กลับไปทำงานที่ไต้หวันตามเดิมโดยให้ลูกชายอยู่กับยายที่บ้านอำเภอโนนไทยเมื่อลูกชายอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ ได้ทำบัตรประจำตัวประชาชน ต่อจากนั้นนางเหลืองได้ให้บุตรชายไปทำงานด้วยกันที่ไต้หวัน กรณีนี้ เมื่อนายเหลียงอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ซึ่งครบกำหนดลงบัญชีทหารกองเกินจะต้องปฏิบัติอย่างไร

ตอบ: นายเหลียงจะต้องนำบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงเห็นว่าจะมาลงบัญชีทหารกองเกิน ณ อำเภอโนนไทย แต่ถ้านายเหลียงเห็นว่าจะมาลงบัญชีฯ ด้วยตนเองไม่สะดวกเพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง นายเหลียงก็สามารถมอบให้ยายเป็นผู้ไปแจ้งแทนได้ โดยบอกตำหนิแผลเป็นที่เห็นได้ง่ายชัดเจนเหนือเอวขึ้นไปให้ยายทราบ เพื่อยายจะได้ไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกินแทนได้ถูกต้อง เมื่อได้รับลงบัญชีฯ แล้วทางอำเภอจะออกใบสำคัญ (แบบ สด.๙) มอบให้ยายเพื่อนำไปมอบให้แก่นายเหลียง เก็บไว้เป็นหลักฐานต่อไป

ถาม: นายฉมัง หนัมหลุด กับ นางโฉม ฉุนนาม ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภรรยากันถูกต้องตามกฎหมาย และมีบุตรชายร่วมกัน ๑ คน ชื่อ ฉมวก ต่อมาเมื่อฉมวกอายุได้ ๑๓ ปี นายฉมังและนางโฉมได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย โดยนางโฉมเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร หลังจากหย่ากันแล้วไม่ทราบว่านายฉมังไปอยู่ที่ไหนไม่สามารถติดต่อกันได้ ขณะนี้นายฉมวกมีอายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ซึ่งจะต้องลงบัญชีทหารกองเกิน กรณีนี้จะปฏิบัติอย่างไร

ตอบ: ตามหลักกฎหมาย ถ้าบิดายังมีชีวิตอยู่จะต้องไปลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอที่ที่บิดามีภูมิลำเนา ในกรณีนี้ ถ้าสอบสวนได้ความชัดแจ้งว่า ไม่สามารถติดต่อกับบิดาได้ ก็ให้ลงบัญชีทหารกองเกินที่อำเภอท้องที่ที่มารดามีภูมิลำเนา โดยนำทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนไปประกอบหลักฐานการลงบัญชีฯ ด้วย

ถาม: กระผมมีลูกชายอยู่หนึ่งคนส่งไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่อายุ ๑๕ ปี ขณะนี้อายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ จะลงบัญชีทหารกองเกินอย่างไร

ตอบ:ให้บิดาหรือมารดาหรือผู้บรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ไปแจ้งการลงบัญชีทหารกองเกิน แทน ณ อำเภอภูมิลำเนาของบิดา โดยนำสำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร รูปถ่ายของผู้ขอลงบัญชีฯ (ลูกชาย) สำเนาหนังสือเดินทางไปต่างประเทศ และหลักฐานการศึกษา เพื่อเจ้าหน้าที่สัสดีจะได้ตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนว่าเป็นผู้มีสัญชาติไทยจริงและไม่ผิดตัวในการรับลงบัญชีฯ กรณีนี้ ถ้าไม่มิสูติบัตรจะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนประกอบการรับลงบัญชีฯ และผู้แจ้งแทนจะต้องทราบตำหนิแผลเป็นของผู้ขอลงบัญชีฯ ด้วย ถ้าหลักฐานไม่ครบเจ้าหน้าที่จะบันทึกในใบคำร้อง คือ ใบแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน (แบบ สด.๔๔) ไว้เป็นหลักฐานเมื่อได้หลักฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน

ถาม: กระผมเป็นนักศึกษาไม่ได้เรียน รด. ขณะนี้อายุ ๒๑ ปีบริบูรณ์ จะทำอย่างไรถึงจะขอผ่อนผันได้

ตอบ: ต้องรีบไปติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาซึ่งมีหน้าที่ทำเรื่องขอผ่อนผัน เพื่อดำเนินการส่งรายชื่อขอผ่อนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภูมิลำเนาทหารโดยด่วนภายในเดือนกุมภาพันธ์ของปีที่จะต้องตรวจเลือกเข้ากองประจำการ หากเกินกำหนดจะไม่ได้รับสิทธิในการผ่อนผัน

ถาม: พ่อกับแม่ของกระผมหย่ากัน พ่อไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่แม่อยู่กรุงเทพฯ กระผมอยู่กับแม่ที่กรุงเทพฯ จะลงบัญชีฯ ที่กรุงเทพฯ จะได้หรือไม่

ตอบ: ได้ แต่ต้องย้ายทะเบียนบ้านของพ่อมาอยู่กับแม่ที่กรุงเทพฯ ด้วย เมื่อลงบัญชีฯ เสร็จแล้ว จึงค่อยย้ายทะเบียนบ้านของพ่อไปอยู่ที่เชียงใหม่ตามเดิม

ถาม: ผมเสียเงินไปแล้ว อยากทราบว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อถึงวันเกณฑ์ ผมไม่ไปเกณฑ์ทหาร

ตอบ: ถ้าไม่ไปเกณฑ์ทหารจะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน กล่าวคือ ถ้ายังไม่ได้รับหมายเรียกฯ จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับถ้ารับหมายเรียกฯ แล้ว จะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี ทุกคนจะต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก และจะได้รับใบรับรองผลการตรวจเลือกฯ (แบบ สด.๔๓) จากประธานกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกเท่านั้น ถ้าได้รับในวันอื่นถือว่าเป็นเอกสารที่ทางราชการมิได้ออกให้ หากผู้ใดนำไปใช้ถือว่าใช้เอกสารปลอม จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย

ถาม: ขณะนี้เหตุการณ์ปกติไม่มีสงครามแล้ว ควรจะยกเลิกการเกณฑ์ทหารได้หรือไม่

ตอบ: ไม่ได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศโดยรับราชการทหาร ดังนั้นจึงต้องมีการตรวจเลือกทหารทุกปีเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้ทั้งในยามปกติและในยามสงครามทั้งสอบคล้องกับรัฐธรรมนูญด้วย

ถาม: ถ้าไม่ลงบัญชีทหารกองเกินจะมีความผิดอย่างไร

ตอบ: ถ้าเกินกำหนดระยะเวลาการลงบัญชีฯ จะมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน กล่าวคือ ถ้าหน้าที่สัสดีส่งรายชื่อไปให้ตำรวจติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าเจ้าตัวได้มาแสดงตนของลงบัญชีฯ ก่อนที่เจ้าหน้าที่สัสดีจะส่งรายชื่อไปให้ตำรวจติดตามจับกุมตัวต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถาม : ถ้าอายุ ๑๗ ปี แล้ว ยังอยู่เมืองนอกสามารถไปแจ้งลงบัญชีฯ ที่สถานทูตไทยประจำประเทศนั้นๆ ได้หรือไม่

ตอบ :ไม่ได้ แต่จะแจ้งแทนได้โดยต้องให้บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะและเชื่อถือได้ที่อยู่ในประเทศไทยไปแจ้งการลงบัญชีฯ แทน ณ อำเภอภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดา หรือผู้ปกครอง แล้วแต่กรณี โดยนำหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนหรือสูติบัตร พร้อมทะเบียนบ้าน และต้องทราบตำหนิแผลเป็นของผู้ขอลงบัญชีฯ ด้วย เพื่อเจ้าหน้าที่สัสดีอำเภอจะได้ตรวจสอบหลักฐานและสอบสวนผู้แจ้งแทน หากปรากฏชัดเจนว่าผู้ขอลงบัญชีฯ มีอายุอยู่ในกำหนดลงบัญชีฯ มีสัญชาติไทยจริง มีภูมิสำเนาถูกมอบให้ผู้ขอลงบัญชีฯ แทนรับไป เพื่อนำไปมอบให้กับเจ้าตัวเก็บไว้เป็นหลักฐาน

ถาม: ผมมีสิทธิผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร แต่ผมเสี่ยงไปเข้ารับการตรวจเลือกและถูกเข้ากองประจำการ กรณีนี้ผมจะขอผ่อนผันลาไปศึกษาต่อจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาแล้วจึงค่อยเข้ารับราชการในกองประจำการจะได้หรือไม่

ตอบ: ไม่ได้ เพราะเป็นการสละสิทธิ์ในการผ่อนผัน โดยสมัครใจเข้ารับการตรวจเลือก ดังนั้นเมื่อถูกเข้ากองประจำการ จะต้องเข้ารับราชการในกองประจำการตามกำหนดในหมายนัดของนายอำเภอจะขอผ่อนผันลาไปศึกษาต่ออีกไม่ได้

ถาม: ขณะนี้ผมอายุ ๒๒ ปีบริบูรณ์ ปีที่แล้วผมรับหมายเรียกๆ แต่ไม่ได้ไปตรวจเลือก อยากทราบว่าปีนี้ จะไปตรวจเลือกได้หรือไม่ หรือจะต้องปฏิบัติอย่างไร

ตอบ: ถ้าได้รับหมายเรียกฯ แล้ว ไม่ไปเข้ารับการตรวจเลือกมีความผิดฐานหลีกเลี่ยงขัดขืน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี เจ้าหน้าที่ตำรวจจะติดตามจับกุมตัวมาดำเนินคดี หากไปในวันตรวจเลือกทางคณะกรรมการตรวจเลือกจะแจ้งให้ทางอำเภอส่งตัวให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีเมื่อคดีสิ้นสุดแล้ว ทางอำเภอจะมอบหมายเรียกฯ ให้ไปเข้ารับการตรวจเลือกต่อไป

ถาม: นักศึกษาได้แจ้งขอผ่อนผันการตรวจเลือกต่อสถานศึกษาและสถานศึกษาได้ส่งรายชื่อขอผ่อนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งผู้นั้นมีภูมิลำเนาทหารอยู่ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยทำเรื่องขอผ่อนผันส่งไปพร้อมกันจำนวน ๑๕ คน ซึ่งมีภูมิลำเนาทหารอยู่จังหวัดเดียวกัน ปรากฏว่าได้รับการผ่อนผัน ๑๔ คน ส่วนอีก ๑ คน ชื่อตกหล่นไม่ได้รับการผ่อนผันจึงต้องเข้ารับการตรวจเลือก และจับสลากถูกเข้ากองประจำการ แผนกทหารบก อยากทราบว่าทำอย่างไรถึงจะ ได้รับการผ่อนผัน เช่นเดียวกันกับ ๑๔ คนนั้น

ตอบ: กรณีนี้จะต้องยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการชั้นสูงโดยติดต่อที่แผนกสัสดีจังหวัดที่เข้ารับการตรวจเลือก เพื่อขอความเป็นธรรม ถ้าคณะกรรมการชั้นสูงพิจารณาแล้วปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเกิดบกพร่องทางธุรการเนื่องจากมิได้เพิ่มรายชื่อไว้ในบัญชีเรียกประเภทคนผ่อนผัน คณะกรรมการชั้นสูงก็จะติดสินงดส่งตัวเข้ากองประจำการ ให้กลับมีสภาพเป็นทหารกองเกิน และมีสิทธิได้รับการผ่อนผันต่อไป

ถาม: เมื่อนักศึกษาจบการศึกษาแล้วสถานศึกษาของเอกชนจะต้องแจ้งให้ กห. ทราบ เพื่อจำหน่ายจากคนผ่อนผันการเรียกพลนั้นต้องส่งผ่านทบวงก่อนหรือไม่

ตอบ: ไม่ต้องส่งผ่านทบวง ส่งตรงให้ กห. เพื่อดำเนินการเหมือนกับการขอผ่อนการเรียกพล

ข้อควรจำ

ใบรับรองผลการตรวจเลือกทหารกองเกินเข้ารับราชการทหารกองประจำการ (แบบ สด.๔๓) ประธานกรรมการตรวจเลือกจะเป็นผู้มอบให้ผู้เข้ารับการตรวจเลือกทุกคนในวันตรวจเลือกเท่านั้น หากไม่ได้ไปเข้ารับการตรวจเลือก แต่ได้รับใบรับรองผลฯ (แบบ สด.๔๓) จากบุคคลอื่นในวันอื่น แสดงว่าเป็นใบรับรองผลฯ ปลอม มีความผิดต้องระวางโทษถึงจำคุก